100 รายชื่อเสนอให้ประเทศไทยมีกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ

17 มกราคม 2020

ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมาย เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็น “ดินแดนแสนล้านการเลือกปฏิบัติ”

การเลือกปฏิบัติ เป็นศัตรูตัวฉกาจที่เข้ามาครอบครองดินแดนตั้งแต่ด้ามขวานทองของไทย ไปจนถึงเหนือสุดแดนสยาม เรียกได้ว่า เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ที่ต่อเนื่องและยาวนาน ส่งผลให้คนมากมายขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ถ้าหากไม่ปิดหูปิดตาจนเกินไป เราจะเคยได้ยินเรื่องราวเหล่านี้

  • กะเทยถูกบังคับให้แต่งตัวเป็นผู้ชายในเวลาทำงาน
  • ลูกหลานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีครูมาสอนให้อยู่แต่บ้าน ไม่ต้องออกไปเรียนที่โรงเรียน
  • กะเหรี่ยงหรือพวกหลังเขาไม่จำเป็นต้องมีบัตรประชาชน เพราะมันไม่ใช่คนไทย
  • คนพิการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้ เพราะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต
  • สักลาย = เลว
  • อดีตผู้ต้องขังกลับใจแต่ไม่สามารถหางานทำได้ จึงต้องยอมลักขโมยและรอมอบตัวต่อตำรวจเพื่อจะได้กลับไปติดคุกซ้ำ
  • ทอมดี้ที่ต้องผ่านคำว่า “เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ”
  • พ่อแม่พาไปโกนหัวบวช เพราะเป็นกะเทยหัวโปก
  • โดนไล่ออก เพราะหัวหน้างานรู้ว่าตั้งท้อง

เหล่านี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทย การถูกเลือกปฏิบัติไม่เพียงส่งผลต่อผู้ถูกกระทำโดยตรง เมื่อคนหนึ่งคนต้องอาศัยอยู่ในบ้านในชุมชน และในสังคม

“ถ้าสตรีมีครรภ์หนึ่งคนถูกไล่ออกจากงาน อย่างน้อยคน 2-3 คน จะต้องเดือดร้อน”

จะดีกว่าไหมถ้าประเทศไทยพัฒนากฎหมาย “ขจัดการเลือกปฏิบัติ” เพื่อไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่น กฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติ เกิดขึ้นในหลายประเทศที่สังคมพัฒนาแล้วทั้ง อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมันนี แม้กระทั่งประเทศฮ่องกง

ในปี พ.ศ. 2563 นี้ ได้มีตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน 9 ด้านในประเทศไทยประกอบด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้มีความ หลากหลายทางเพศ คนพิการ แรงงานนอกระบบ เด็กสตรี ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดและผู้ต้องขัง จัดทำร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพื่อเสนอรัฐบาล ให้ประเทศไทยได้มีกฎหมายดังกล่าว

โดยกระบวนการเสนอกฎหมาย ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญมีหลากหลายช่องทาง และหนึ่งในนั้นคือการ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งจำเป็่นต้องมีการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 ราย แนบพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ขณะนี้เครือข่ายภาคประชาชน 9 ด้าน นำโดยมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ได้มีการรณรงค์เพื่อรวบรวมรายมือชื่อไปได้แล้ว กว่า 8,000 รายชื่อ ตลอดปีที่ผ่านมาโดยคุณสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กล่าวถึงกฎหมายฉบับนี้ว่า

“ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายนี้

เพื่อคุ้มครองบุคคลทุกคนให้ปลอดพ้นจากการเลือกปฏิบัติ

ซึ่งกฎหมายนี้จะไม่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นอุปสรรคต่อใครก็ตามที่ไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้อื่น”

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่สนใจอยากให้รัฐบาลประกาศใช้ พระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล สามารถมีส่วนร่วมได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ ไทยแอ็ค พร้อมเป็นพื้นที่รวบรวมลายมือชื่อของทุกคน เพื่อสมทบกับรายชื่อของผู้ร่วมเสนอกฎหมายฉบับนี้จากทั่วประเทศ เพียงปฏิบัติตามรายละเอียด 3 ขั้นตอน

1.ดาวน์โหลดเอกสาร การลงลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. … และจัดพิมพ์ (Print) ลงในกระดาษ A4 แล้วกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)

2.แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่หมดอายุ หรือสำเนาบัตรหลักฐานอื่นใดของทางราชการ ที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ โดยการพิมพ์(Print) ลงกระดาษ A4 พร้อมเซ็นสำเนาให้ถูกต้อง และขีดคร่อมว่า “ใช้เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. … ”

3.ดำเนินการจัดส่งเอกสารทั้งหมดมายัง

สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม เลขที่ 169 ซอยวิภาวดี 44

ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 1090

จ่าหน้าซอง “ร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ

หรือถึงนายนพพล ไม้พลวง หมายเลขโทรศัพท์ 061 2200 909

อย่าให้กระบวนการพัฒนาประเทศ และดินแดนของไทย ต้องสูญเสียไปมากกว่านี้ อย่าให้การเลือกปฏิบัติ กลายเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนยอมรับได้ และมีที่ยืนอย่างเชิดฉายในสังคมนี่ไม่ใช่การระดมรายชื่อออนไลน์ เพราะตัวตนออนไลน์ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายใดใดทั้งสิ้น

มาร่วมกันเป็นหนึ่งในกำลังพล เพื่อทำให้ประเทศไทยปลอดพ้นจากการเป็นดินแดนแสนล้านการเลือกปฏิบัติ

*อนึ่ง ขอให้มั่นใจได้ว่าเอกสารของท่านจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยหรือใช้สอยเพื่อการอื่น

**สำหรับเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ... ซึ่งร่างโดยคณะทำงานกฎหมายภาคประชาชน (คลิกที่นี่)

100 รายชื่อเสนอให้ประเทศไทยมีกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ เป้าหมาย 100 รายชื่อ

ความสำเร็จโครงการ

95%

ยอดบริจาคขณะนี้ (รายชื่อ)

95
ปิดรับแล้ว

บริจาคเพื่อช่วยเหลือสังคม

จำนวนทุนที่ยังต้องการ

39,800

บาท

จำนวนคนออกแรงที่ยังขาด

0

คน

สิ่งของที่ยังขาด

638

ชิ้น

Copyright © 2013 THETHAIACT